English language thai language lady fashion Levi's styles healthy-herb  

ประวัติLevi's พ่วงด้วย ยีนส์ที่แพที่สุดในโลก

คงจะมีเครื่องแต่งกายไม่กี่ Brand ที่สามารถเล่า Story นั้นๆได้อย่างไม่รู้จบ แต่ในความน้อยนิดนั้น ย่อมต้องมี Story ของยีนส์รวมอยู่ด้วย และเมื่อกล่าวถึงยีนส์ หากไม่ใช่ Brand ลีวายส์ (Levi?s) คอยีนส์ทั้งหลายก็คงจะรู้สึกเหมือนกับว่า กำลังขาด Brand สำคัญที่เสมือนพี่ใหญ่ของวงการยีนส์โลกไปอย่างไม่น่าจะให้อภัย
เพราะ 150 ปี ของลีวายส์ปีนี้ คงไม่ได้มีความหมายเพียงว่า นี่คือ Brand ที่ผลิตกางเกงยีนส์ออกมาเป็นรายแรกๆของโลกเท่านั้น แต่ย่อมหมายถึงคุณภาพ ที่เชื่อถือได้ เป้าหมายที่ชัดเจน และการทำการตลาดแบบครบวงจร ตั้งแต่ 150 ปีที่แล้ว ประเดิมที่ชุดแต่งกายสบายๆ เจนตาแบบนี้... เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ...อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ในสังคมไทย ทว่าสิ่งนี้แหละ คือ การรับวัฒนธรรมการแต่งตัวมาจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกางเกงยีนส์ต้องเป็นลีวายส์ ที่จะให้ความรู้สึกมั่นใจและเท่กับผู้สวมใส่ มาถึงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดในยุค เจมส์ ดีน พระเอกชื่อดังสมัยนั้นสวมใส่ยีนส์ทุกครั้ง ไม่แตกต่างกับ คลิ้นต์ อีสต์วู้ด ในยุคต่อมา ริชาร์ด เกียร์ ใช้ลีวายส์ 501XX ขึ้นลายเนื้อทราย ทำให้คนดูภาพของเขาถึง แอบอิจฉาลึกๆ กับความงามของกางเกงยีนส์ สำหรับ จอห์น เดนเวอร์ เลือกใส่เสื้อยีนส์ลีวายส์ ผ้าแชมเบรย์ ซึ่งเป็นรุ่นไม่ซีดจาง บ็อบ ดีแล่น ก็เลือกใช้ลีวายส์ ฝ่ายนางเอกสาว มาดอนน่า ใส่ลีวายส์กระดุมเป็นหลัก ส่วน บรูค ชีลด์ส ก็ใส่ยีนส์ตลอดเวลา เช่นเดียวกับดาราสาว ผิวดำ ไทร่า แบงค์ส จากเรื่อง Coyote Ugly เลือกใช้ ลีวายส์ ส่วนอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ บุช, โรนัลด์ เรแกน, จิมมี่ คาร์เตอร์ ต่างก็ชื่นชอบการใส่ยีนส์ตามแบบฉบับของตน โดยเฉพาะคาร์เตอร์ ได้ประกาศให้สาธารณชนรับทราบว่า ?I am one of their best customer ; Levi Strauss & Co.? ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งของดาราฮอลลีวู้ด รวมถึงอดีตผู้นำประเทศที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ไม่ต่างอะไรกับช่องทางส่งเสริมการขายยีนส์ โดยได้รับการการันตีจากผู้มีชื่อเสียงชั้นนำของอเมริกันชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายของบริษัทได้อย่างเต็มร้อย และวิธีนี้ถูกถ่ายทอดข้ามทวีปมายังผู้บริโภคชาวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ห้างหุ้นส่วนจำกัดอา.จวน (R.jaun Trading ) มีจดหมายไปถึงบริษัทลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. (Levi Strauss & Co.) ซานฟรานซิสโก ได้ขอสั่งซื้อกางเกงลีวายส์สแล็คส์รูปแบบทรงของคาวบอย เสื้อคาวบอย เข็มขัดคาวบอย แต่ยังไม่มียีนส์เข้ามาขายในประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้เห็นสินค้า Brand ลีวายส์ ตัวจริงเสียงจริง 22 ปีต่อมา ลีวายส์จึงสยายปีกเข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทย ชื่อบริษัทลีไว สเตร๊าสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ใช้ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท เพื่อเป็นตัวแทนนำลีวายส์เข้ามา มีสำนักงานใหญ่และโชว์รูมในตึกอื้อจือเหลียง โดยมอบหมายให้บริษัทแองโกล ไทย จำกัด เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย ขณะนั้นลีวายส์รุ่น 505 ขากระบอก- ขาบาน เสื้อแขนยาวลายสก๊อต กระดุมมุก กระเป๋าเล็กๆ ในรูปแบบของเสื้อคาวบอย ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นในยุคนั้น ส่วนนักศึกษามักจะเลือกแต่งตัวด้วยเสื้อยืด กางเกงยีนส์ลีวายส์ และรองเท้าแตะ ล่วงเข้าช่วงประมาณปี พ.ศ. 2518 แองโกลไทย หมดสัญญาจัดจำหน่าย อื้อจือเหลียงเห็นช่องทางเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายลีวายส์ จึงตั้งบริษัทใหม่ ชื่อบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด มาดูแล Brand ลีวายส์ อย่างต่อเนื่องทันที ทั้งนี้บริษัทแม่พาราวินเซอร์ มิได้ทำธุรกิจเพียงนำเข้าและขายยีนส์ลีวายส์อย่างเดียว แต่รับหน้าที่ผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence จากบริษัท ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เป็นการผลิตบางรุ่นที่บริษัทแม่ให้ผลิต พร้อมกันนี้ได้ยกเลิก บริษัท ลีไว สเตร๊าสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด จากนั้นปี พ.ศ.2530 บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด รับบทบาทผู้จัดจำหน่ายและผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence อย่างเป็นทางการแทนพาราวินเซอร์ กับอื้อจือเหลียง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ผ้าเดนิม หมุดย้ำโลหะ เรดแท็บ Value หลักของ Brand ลีวายส์ หลายคำถามของคนรักยีนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องควักกระเป๋าเพื่อซื้อ Brand ที่มีอายุ 150 ปีเช่นนี้ มักจะมีข้อสงสัยหรือความต้องการก่อนจะซื้อ อาทิ เป็นรุ่นผ้าริมแดงหรือไม่ รุ่นนี้มีเป๊กหลังไหม และเป็นรุ่นอี (E) ตัวใหญ่ หรือไม่ ความต้องการบางส่วนข้างต้นไม่ใช่เรื่องธรรมดามากนัก เพราะทันทีที่ตกลงใจเลือกกางเกงลีวายส์แบบผ้าริมแดง หรือรุ่นที่มีเป๊กหลัง หรือรุ่นอี (E) ตัวใหญ่ ผู้ซื้อจะต้องจ่ายสูงกว่ารุ่นที่ไม่มี 3 สิ่งนี้ประมาณ 10% ให้กับลีวายส์ รุ่น Vintage Clothing ซึ่งถือเป็น Value มหาศาลที่เกิดจากวัตถุดิบที่บริษัทมีอยู่แล้ว และเป็นไปตามโจทย์สำคัญคือ ความต้องการของลูกค้า บุคคลแรกที่สร้างคุณค่าทุกประเภทลงบนเนื้อผ้าของยีนส์ลีวายส์ คงจะไม่พ้นลีวาย สเตราสส์ ผู้มีความคิดเปลี่ยนแปลงกางเกงจากผืนผ้าใบ ให้เป็นผืนเนื้อผ้าฝ้ายเฮฟวี่ เดนิม หรือผืนผ้าเนื้อฝ้ายเต็มร้อย คำว่า เดอ นิม (Denim) มาจาก De Nimes แห่งเมืองนิมส์ เป็นเมืองที่มีช่างฝีมือในการทอผืนเนื้อผ้า จนได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก ต่อมาอีกช่วงเวลาหนึ่งจึงถูกเรียกว่าเดนิม หรือต่อมาเรียกติดปากกันว่าผ้ายีนส์ ซึ่งในยุคแรกจะต้องมีคุณสมบัติเมื่อลีวายส์นำมาใช้คือ ต้องมีการหด (Shrinkage) ต้องมีการยับย่น (Wrinkled) และต้องมีการซีดจาง (Faded) ล่วงเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คุณสมบัติของผ้าสำหรับ Brand ลีวายส์เปลี่ยนเป็นด้ายฝ้ายดิบที่มีคุณภาพดี ย้อมด้วยสีครามเข้มเป็นพิเศษ และการทอยอดเยี่ยม สำหรับผู้สวมใส่แล้วยังต้องเพิ่ม Value ในเนื้อผ้าอีกเรื่อง คือเป็นผ้าริมแดงหรือไม่ เพราะ ผู้ซื้อมักจะถูกผู้ขายอธิบายให้ฟังว่า ผ้าริมแดงของ Brand ลีวายส์ มีน้อยมาก และส่วนใหญ่เป็นรุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ราคาย่อมสูงขึ้นตามจำนวนสินค้าที่มีน้อย ยิ่งเมื่อต้องไปเทียบกับกางเกงลีวายส์ตัวอื่นที่ไม่มีริมแดงแม้จะเป็นรุ่น เดียวกันก็ตาม แต่ราคาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว เรื่องผ้าริมแดงของยีนส์พี่ใหญ่ Brand นี้ เป็นหลักการธรรมดาของการทอผ้า ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่เจริญ ใช้เครื่องทอโบราณ ผ้าเดนิมที่ทอออกมาเป็นผ้าหน้าแคบ 29 นิ้ว ผ้าหนึ่งม้วน 100 หลา ตัดกางเกงได้ 50 ตัว (กางเกงยีนส์ 1 ตัวใช้ผ้า 2 หลาสำหรับผ้าหน้าแคบ) ดังนั้น ในจำนวน 50 ตัว จึงมีริมแดงทั้งหมด หลังปี พ.ศ. 2513 เครื่องทอผ้าพัฒนาขึ้นเป็นทอผ้าหน้ากว้าง 60 นิ้ว ความยาวผ้ายังคงอยู่ที่ 100 หลา จะตัดกางเกงได้ 100 ตัว (กางเกงยีนส์ 1 ตัวใช้ผ้า 1 หลา สำหรับผ้าหน้ากว้าง) ซึ่งความกว้างของหน้าผ้าเช่นนี้ทำให้กางเกงยีนส์ลีวายส์หลายตัวไม่มีริมแดง แต่การค้นหากางเกงริมแดงเท่าที่ผลิตออกมาแล้ว ยังอยู่ในความต้องการของผู้สวมใส่ บางตัวซื้อ-ขายในตลาดด้วยราคาหลักพันปลายๆ หรือหมื่นต้นๆ เมื่อเห็นความต้องการของตลาดเช่นนี้ บริษัทลีวายจึงสั่งการเฉพาะผลิตผ้าตัดกางเกงให้มีริมแดงออกวางขายอย่างหาไม่ ยากอีกต่อไป ส่งผลให้ราคาขายลดลงอย่างมาก เพียงมีเงินในกระเป๋า 2 พันต้นๆ ก็สามารถซื้อกางเกงลีวายส์ริมแดงของใหม่ของแท้ได้ในประเทศไทย ?คนชอบลีวายส์จำนวนหนึ่งที่มากพอสมควร จะยังคงมองหาลีวายส์ริมแดงในแต่ละรุ่น เพราะข้อมูลเหล่านี้พวกเขาได้รับรู้มาจากรุ่นพี่ เพื่อน ตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา จนกระทั่งโตขึ้นมีความรู้เรื่องยีนส์มากขึ้นก็จะเปลี่ยนมาซื้อลีวายส์ และถ้าหาได้ก็จะซื้อกางเกงลีวายส์ริมแดงมาใส่ด้วยความเท่และภูมิใจกับ Brand นี้?ผู้เชี่ยวชาญ Brand ลีวายส์ กล่าวถึง Value ของริมแดงลีวายส์ที่นับวันจะไม่จางหายไปจากความสนใจของคอลีวายส์ เพราะเด็กรุ่นใหม่เติบโตอยู่ทุกวัน Value ของยีนส์พี่ใหญ่ไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เป๊กหลังที่ผู้ซื้อจะถามถึง และพลิกดูด้านในของกระเป๋าหลังกางเกง เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะยอมจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อแลกกับคุณค่าทางความรู้สึก เป๊กหลัง คือชื่อคนไทยเรียกติดปาก ทั้งที่ชื่ออย่างเป็นทางการของสิ่งนี้คือ หมุดโลหะดำ (Copper Riveted) เกิดจากการประดิษฐ์ของ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส หลังจากนั้นได้จูงมือลีวาย สเตราสส์ ไปยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการใช้หมุดโลหะกับเสื้อผ้า และสำนักทะเบียนสิทธิบัตรแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกทะเบียนรับรองในเรื่องการจดสิทธิบัตร เรื่องการใช้หมุดโลหะ ไว้ให้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 หมุดโลหะของลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. มีรูปลักษณ์คล้ายกับหมวก มีแผ่นเหมือนปีกหมวกกว้างไว้รองรับเมื่อตอกย้ำ มีปุ่มเล็กคล้ายที่สวมหัวเอาไว้ยึดมั่นกับแกนเสาของฐานหมุดโลหะด้านล่าง ที่ฐานรอบๆเม็ดปุ่มเล็กนั้น มีตัวอักษรเป็นตัวบุ๋มลึกลงไป อ่านได้ชัดเจนมีคำว่า L S & C O - S F ตัวอักษรย่อมีความหมายถึง ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ซานฟรานซิสโก (Levi Strauss & Co. Sanfrancisco) ส่วนหมุดโลหะที่เป็นตัวล่าง ที่ใต้ฐานมีตัวอักษรเป็นตัวนูนสามารถอ่านออกมาได้ L.S.& CO - S.F. ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับหมุดโลหะส่วนบน หมายถึงบริษัทผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่มีนามว่าลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. แห่งเมืองซานฟรานซิสโก การที่ได้ตอกหมุดโลหะทองแดงย้ำไว้ตามจุดตำแหน่งต่างๆ ที่เห็นสมควร เพื่อเพิ่มความหนาแน่นทนทานให้กับเนื้อผ้า เช่น ตามรอยโค้งของขอบมุมกระเป๋าของกางเกงยีนส์ ครั้งแรกสุดได้ใช้กับกางเกงลีวายส์ บริเวณขอบมุมบนกระเป๋าด้านหลังของกางเกง ที่อยู่บนขอบมุมกระเป๋าด้านซ้ายขวาทั้งสองกระเป๋า แต่แล้วลูกค้า Complaint หมุดโลหะดังกล่าว ไปสร้างรอยขีดข่วน เก้าอี้นั่ง เบาะโซฟา และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ลีวายส์จึงยกเลิกหมุดโลหะ บนตำแหน่งของขอบมุมกระเป๋าที่ด้านหลังทั้งซ้ายและขวาอีกต่อไป จากนั้นได้ประดิษฐ์หมุดโลหะอีกแบบหนึ่ง หมุดโลหะแบบใหม่ที่ใช้ตอกย้ำตรงขอบมุมบนกระเป๋าด้านหลังกางเกงในตำแหน่งเดิม ที่ไม่มีการตอกปุ่มของหมุดโลหะนั้นไว้ แต่ได้มีหมุดโลหะย้ำและเย็บซ่อนไว้ด้านใน เพื่อจะไม่ให้เกิดการขีดข่วน ไม่ทำความเสียหายให้เหมือนดังที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา หมุดโลหะที่ซ่อนตัวอยู่นี้ ถูกขนานนามว่า คอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ (Concealed Copper Rivets) ที่ฐานของหมุดโลหะนั้นๆ ยังมีอักษรเป็นตัวนูน LS&CO SF ในประเทศไทยเรียกสิ่งนี้ว่าเป๊กหลัง ทั้งนี้ เป๊กหลังของ Brand ลีวายส์ยุคปัจจุบัน จึงมีแบบหมุดโลหะซ่อนตัวอยู่ และไม่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งแบบหลังทางบริษัทได้ผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั่ว โลก ที่พร้อมจะจ่ายเงินแพงกว่าแบบหมุดโลหะซ่อนตัว เช่นเดียวกับป้ายผ้าเรดแท็บ (Red Tab) มีอักษรตัวสีขาว มีคำว่า LEVI?S ติดไว้บนขอบมุมทางซ้ายของกระเป๋าขวาที่ด้านหลังของกางเกงยีนส์ลีวายส์ทุกตัว นั้นคือ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน Design เรดแท็บ จาก E (อีตัวใหญ่) ให้เป็น e (อีตัวเล็ก) เพื่อความโดดเด่นตามความนิยมของตลาดตั้งแต่ ค.ศ. 1970 จาก LEVI?S กลายเป็น Levi?s ซึ่งก็ยังคงครองใจคอยีนส์อยู่ทั่วโลก แต่สิ่งที่นักการตลาดลีวายส์ในยุคดังกล่าวมองข้ามช้อตมากกว่านั้นคือ การโหยหา Brand ลีวายส์ที่มีเรดแท็บเป็น E (อีตัวใหญ่) ของคนในยุคต่อมา ซึ่งก็ไม่ผิดคาดแต่ประการใด ส่งผลให้ราคากางเกงยีนส์ลีวายส์รุ่น E (อีตัวใหญ่) ถีบตัวสูงขึ้นอย่างมากในตลาดยีนส์ เพราะเป็นรุ่นเก่า สินค้ามีน้อย และในที่สุดก็เป็นที่มาให้บริษัทต้องผลิตกางเกงยีนส์ลีวายส์ มีเรดแท็บเป็น E (อีตัวใหญ่) เพื่อสนองความต้องการให้นักเล่นยีนส์ ซึ่งแม้ว่าราคาจะไม่แพงมากมายเฉกเช่นความต้องการสินค้าในยุคหลังปี 1970s แต่ราคา ณ ปัจจุบันก็ต้องเรียกว่าไม่ต่ำกว่า 2 พันแน่นอน
501 xx ถึง Type 1TM from Classic to Modern หากสังเกตช่วงเวลาของการสร้าง Brand ลีวายส์ในแต่ละยุคจะพบว่า Strength ของ Brand อยู่ที่ความเป็น Original ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมาโดยมีรุ่น 501 เป็นตัวชูโรง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และปฏิเสธไม่ได้ว่าจะยาวต่อเนื่องไปยังอนาคต ข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางหลายสิบปีที่ผ่านมา ภาพการแข่งขันตลาดยีนส์ระดับ World Wide คอยีนส์จะพบว่า การที่ยีนส์ยุโรป อาทิ รีเพลย์ ดีเซล เวอร์ซาเช่ อาร์มานี เป็น อาทิ เดินหน้าลงสนามมาแชร์มูลค่าตลาดยีนส์ทั้งโลก ด้วยการวาง Positioning ให้เป็นยีนส์ที่เยี่ยมยอดด้วยการ Design และ In Trend ทุกฤดูกาล นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนความรู้สึกคนใส่ยีนส์ได้ว่า กางเกงยีนส์ไม่จำเป็นต้องมีรูปทรง Basic อย่างลีวายส์เสมอไป รูปแบบยีนส์สไตล์ใหม่ๆ จึงเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นยีนส์แฟชั่นเหมาะสำหรับคนที่ต้องการสวมใส่ยีนส์รูปแบบใหม่ๆ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้มีราคาสินค้าสูงกว่าพี่ใหญ่ของยีนส์โลกอย่างลีวายส์ค่อน ข้างมาก จนกระทั่งผู้ใช้สามารถนำจุดเด่นของยีนส์ยุโรปที่กล่าวถึงนี้มาเป็นตัว Up Grade ตนเองได้อย่างสบายๆ ลีวายส์ย่อมไม่ปล่อยให้เรื่องแฟชั่นยีนส์มากระทบตนเองแน่นอน ดังนั้น แผนการตลาดในปี ค.ศ.2000-2009 จึงส่งกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุด Levi? sจ Type 1TM Jeans (เป็นการจดทะเบียนใหม่) ลงตลาด ส่วนประกอบหลักของ Brand ลีวายส์อยู่ครบถ้วน แต่ทำทรงใหม่ ใช้กระดุม หมุดโลหะใหญ่กว่าปกติ เช่นเดียวกับการใช้ด้ายเส้นใหญ่เย็บ และเย็บให้มีช่องว่างห่างกว่าปกติ ทั้งหมดคือความแตกต่างจาก Original และเป็นการสร้าง Value ขึ้นมาใหม่ อีกไม่นานนัก กลุ่มนักนิยมแฟชั่นยีนส์จะได้เห็น Brand ลีวายส์รุ่นต่างๆ ที่แตกลูกหลานออกมาในสายของ Levi? sจ Type 1TM Jeans
กลับมาถึง Original ลีวายส์ 501 หลังจากบริษัทลีวาย ได้เริ่มผลิตกางเกงสำหรับสวมใส่ทำงาน ค.ศ.1855 กางเกงดังกล่าวถูกเรียกว่า Overalls หรือ Waist Overalls และเรียกตามรูปแบบทรงกางเกงหลวมๆ ว่า Pantaloons เมื่อผลิตมาถึงปี ค.ศ.1870 เป็นต้นมา จะถูกกำกับด้วยตัวอักษร XX หมายถึงความเป็นพิเศษของน้ำหนักผืนเนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีที่นำมาใช้ตัดเย็บ กางเกง ส่วนเลข 501 เกิดจากบริษัทลีวายได้รับอนุญาตจาก Amoskeag Manufacturing Company โรงงานผลิตผ้า ให้ใช้เลขหมายของการส่งมอบผืนผ้าเดนิมจากโรงงาน เพื่อประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบว่า กางเกงสำหรับสวมใส่ทำงาน ได้ตัดเย็บจากเนื้อผืนผ้าเดนิมที่มีคุณภาพดีเลิศแห่งยุคสมัยนั้น 501 XX จึงถือกำเนิดตั้งแต่ 100 กว่าปีที่แล้วจนกระทั่งส่งความคลาสสิกมาถึงปัจจุบัน ทั้งในรุ่นผลิตขึ้นมาใหม่ ด้วยเนื้อผ้าที่เรียกว่าเนื้อทราย หรือขัด ฟอก แบบ Stone Wash เพื่อให้กางเกง 501 ของใหม่แต่ดูเหมือนของใช้แล้ว ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของ Brand ลีวายส์ นอกจากนี้ความคลาสสิกของ 501 XX ยังมีความลึกซึ้งหลงเหลืออย่างมากมายสำหรับรุ่นที่ผลิตในยุคต้นๆของลีวายส์ คนที่ชอบเล่นของเก่าก็ค้นหาเลือกซื้อในตลาดยีนส์ลีวายส์มือสอง ส่วนคนที่ชอบรูปแบบเก่าแต่ต้องเป็นของใหม่ ทางบริษัทก็ผลิตลีวายส์ Vintage ต่างๆ ออกมา Vintage ในความหมายของคนวงการยีนส์คือ กางเกงยีนส์รุ่นเก่าๆ เคยผ่านการสวมใส่มาก่อน เป็นกางเกงไม่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ จึงทำให้หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมยีนส์ คนรุ่นใหม่อยากใส่ยุคเก่าของคนรุ่นก่อน จึงบัญญัติศัพท์ว่า Vintage คือผลิตภัณฑ์รุ่นหนึ่งๆ ที่คนพึงพอใจ...ปัจจุบันคำนี้ไว้ใช้เรียก Brand ของลีวายส์ที่เป็นสินค้าใหม่แต่ทำเลียนแบบสินค้าเก่า เช่น 501 xx รุ่น 110 ปี หรือรุ่น 150 ปี เป็นต้น ?ปัจจุบันไม่ว่าใครต้องการ 501 Vintage ดังๆ สามารถซื้อของผลิตใหม่ได้อย่างง่ายดาย เพราะบริษัทลีวาย ได้ผลิตรุ่น Vintage ออกมารองรับความต้องการของตลาดทั่วโลก? ผู้เชี่ยวชาญเรื่องยีนส์ลีวายส์กล่าวเพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้ Brand ลีวายส์ ยังคงตั้งมั่นกับจุดยืนที่เด่นมากของตนเองอย่างแน่วแน่ และสินค้าทุกรุ่นสร้าง Value ด้วยตัวเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเก่าลายครามอย่าง 501 XX หรือสดซิงอย่าง Type 1TM ในขณะที่ระดับ World Wide เดินเครื่องทางการตลาด วกมาที่ตลาดลีวายส์ในประเทศไทย การรับรู้ Culture Value อย่างเป็นทางการจาก บริษัท ดีทแฮล์ม เทรดดิ้ง จำกัด (ส่วนผลิตภัณฑ์ ลีวายส์) ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและฝ่ายผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทลีวาย ดูเหมือนจะไม่เข้มข้นเท่าที่ควร เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Brand ในแต่ละด้าน เกิดจากการอ่านเรื่องราวของยีนส์ หรือประสบการณ์ตรงของผู้ใช้ยีนส์ ที่ถามไถ่ในวงเพื่อนฝูง หรือตาม Shop ของผู้ค้ารายย่อย เช่น อินทรา ประตูน้ำ ฯลฯ ซึ่งคนรู้จักยีนส์ลีวายส์เป็นอย่างดีจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าจะซื้อลีวายส์จะไม่ซื้อที่ Outlet ของดีทแฮล์มในห้างสรรพสินค้า แต่จะซื้อตาม Shop ที่นำเข้ายีนส์ลีวายส์อย่างถูกกฎหมาย ?ถ้าคุณมีเงินก็สามารถไปเลือกซื้อ ลีวายส์ในตลาดมืดได้หลายแห่ง เช่น ที่แอลเอ จะมีลีวายส์ทุกรุ่นทุกแบบทั้งที่เป็น Vintage หรือ Type 1TM เลือกซื้อได้อย่างสบายใจ โดยสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในจุดนี้ เป็นของแท้มาจากบริษัทลีวายโดยตรง และเมื่อเลือกซื้อได้เรียบร้อยมาถึงประเทศไทย ก็จ่ายค่าขนส่ง ค่าภาษีขาเข้าให้กรมศุลกากร ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็น 100% เพียงเท่านี้ Shop คุณก็มีลีวายส์ที่ประทับตรา Made in USA ผลิตโดยบริษัทลีวายโดยตรง วางขายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย? สนนราคาการนำเข้ายีนส์ ลีวายส์ใหม่เช่นนี้ ราคาที่ขายใน Shop ใกล้เคียงกับราคา Outlet ของ ดีทแฮล์ม แต่ข้อดีอย่างหนึ่งเมื่อซื้อใน Shop คือต่อรองราคากันได้นิดหน่อย และท้ายสุดฝากฝังถึงรุ่นต่อไปที่กำลังสนใจอยู่ หากมีมาถึงแล้วกรุณาติดต่อกลับทันที ซึ่ง Relationship ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ยิ่งช่วยสร้าง Culture Value Brand กับลีวายส์ให้มากขึ้น
Culture for Sell ภาพของยีนส์ได้สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นความพยายามของมนุษย์ในอดีตได้รู้จักฝ้าย คิดกรรมวิธีการปลูกเพื่อมาทำเสื้อผ้า ต้องมีแรงงานทั้งที่เป็นทาส หรือเกษตรกรในไร่ฝ้าย รับจ้าง เก็บดอกฝ้าย คิดค้นเครื่องแยกเมล็ดออกจากกัน คิดค้นการปั่นเกลียวเส้นด้าย ค้นหาสีธรรมชาติ ?อินดิงโก้ฟีร่า? เพื่อนำมาเป็นสีย้อม คิดค้นเครื่องทอ กรรมวิธีการทอ รูปแบบการตัดเย็บ กระทั่งถึงมีคนซื้อไปสวมใส่ และพัฒนามาเป็นการแต่งกายด้วยยีนส์ให้ความ รู้สึกสบายๆ ความรู้สึกเช่นนี้คนไทยเองก็รับเข้ามาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่บูมมากๆ ใน ปี ค.ศ.1997 ซึ่งคนใช้ยีนส์จะสวมใส่ในวันพักผ่อน แต่ขณะนั้นจัดเป็นยุค Baby Boom ก่อเกิดคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Yuppy คนเหล่านี้จะสวมเสื้อเชิ้ต นุ่งกางเกงยีนส์ไปทำงาน ไม่เคร่งครัดกับจารีต การแต่งตัวด้วยเสื้อเชิ้ตกางเกงสแล็คส์อีกต่อไป Culture ในการแต่งตัวเช่นนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน เพราะคนทำงานในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ หรือเจ้าของบริษัทการค้าใหญ่ๆ จำนวนมาก ล้วนสวมใส่ยีนส์ไปทำงาน ปัจจุบันรสนิยมในการสวมใส่ยีนส์ของคนไทยมิได้หดหายไปไหน กลับได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งคนทุกรุ่นต่างก็ไม่ปฏิเสธว่ามีความตั้งใจจะต้องสัมผัสกางเกงยีนส์ ลีวายส์ คุณค่าของ Brand ลีวายส์ คงไม่สิ้นสุดง่ายๆ ตราบเท่าที่การส่งผ่านแฟชั่นเครื่องแต่งกายออกสู่ตลาดโลก ได้กลายเป็นการส่งออกวัฒนธรรมของอเมริกันชนที่สำคัญมาก ชนิดไม่แพ้เรื่องอื่นๆ แม้แต่น้อย กว่าจะเป็น ลีวายส์ คนจำนวนมากจากยุโรปต่างกระเสือกกระสนหลั่งไหลสู่ดินแดนโลกใหม่ หนึ่งในนั้นคือพี่น้องในสกุลตระกูลสเตราสส์ เป็นชาวบาวาเรียน ในแคว้นทางตอนใต้ของเยอรมนี โยกย้ายถิ่นฐานมาถึงอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1847 ทำมาหากินอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ได้ระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ตะลอนเร่ขายหมวกฟาง ผืนผ้า เสื้อสำเร็จรูป ที่ตัดเย็บด้วยผ้าลินิน

ที่มา:http://www.hellheaven-thailand.com/board/index.php?topic=117.0