ไปถึงห้างก็ตรงไปลองสวมลีวายส์ 501 ตามขนาดเอว แต่มันแปล่งๆ แฮะ ทำไมลีวายส์ 501 เดี๋ยวนี้มันออกจะหลุดตูดๆ หน่อยๆ แถมขากางเกงก็ออกแคบๆ แนวจิ้งเหลนไฟยังไม่รู้ เมื่อถามคนขายสาวสวยจึงทราบว่าตอนนี้กางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 รวม ทั้งกางเกงยีนส์ลีวายส์รุ่นอื่นๆ ได้ปรับเปลี่ยนทรงเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยมและตอบสนองกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นคน รุ่นใหม่มากขึ้น...อ้าว...อย่างนี้ผมก็เป็นผู้ซื้อรุ่นเก่าละซิ
ครั้งหนึ่ง Time Magazine นิตยสารยักษ์ใหญ่ของโลกได้ยกย่องกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 เป็นเครื่องแต่งกายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20 คำยกย่องที่มีต่อลีวายส์ 501 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ของ ลีวายส์-สเตราส์ (Levis-Strauss) ซึ่งกำเนิดมาพร้อมกับยุคตื่นทองในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อกว่า 160 ปีมาแล้ว ความสำเร็จของลีวายส์-สเตราส์ในทุกวันนี้อยู่ในระดับเดียวกับเครื่องดื่ม Coke ในระดับเดียวกับมอเตอร์ไซ Harley-Davidson เป็นเหมือนสัญลักษณืที่เติบโตเคียงคู่มากับความเจริญรุ่งเรืองของประเทศสหรัฐอเมริกามาจนทุกวันนี้
ลีวายส์ 501
ในปี 1847 นาย Levi Strauss ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวเดินทางมาซานฟรานซิสโกเพื่อหวัง รวยเหมือนคนอื่นๆ ที่ต้องการขุดทองคำ เขาเริ่มอาชีพที่นั้นด้วยการค้าขายอุปกรณ์ทำเหมืองอยู่หลายปี จนมาพบว่ากางเกงที่พวกนักขุดทองสวมใส่มักขาดเร็วไม่ทนทานเพราะงานเหมืองเป็น งานหนักและสกปรก เขาจึงร่วมกันนาย Jacob Davis ค้น คิดผลิตกางเกงที่มีความทนทานเป็นพิเศษเพื่อขายให้คนทำเหมืองเหล่านั้น เขาจึงใช้ผ้าใบสีน้ำตาลมาตัดเย็บกับผ้าเดนิมซึ่งทนทานมาก จากนั้นก็จะตอกหมุดเหล็กลงไปตามมุมกระเป๋าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเข้าไปอีก ส่วนสีของกางเกงแบบใหม่ก็ย้อมสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีชุดทำงานของคนทำเหมืองใน เวลานั้น นั่นเป็นสาเหตุให้สีน้ำเงินกลายเป็นสีมาตรฐานของกางเกงยีนส์มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนป้ายยี่ห้อของยีนส์ลีวายส์เป็นรูปม้า 2 ตัวกำลังดึงกางเกงยีนส์ที่อยู่ตรงกลาง แสดงถึงความแข็งแรงทนทานแบบสุดๆ
เชื่อกันว่าทุกวันนี้แทบทุกคนทั่วโลกไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องมีกางเกงยีนส์ไว้ในครอบครองอย่างน้อยคนละ 1 ตัว (ผมมี 4 ตัว) หากไม่มีเหตุการณ์ตื่นทอง โลกเราก็คงไม่รู้จักกางเกงยีนส์และ Levi Strauss ก็เป็นได้
จาก สหรัฐอเมริกากางเกงยีนส์ลีวายส์ระบาดหนักไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศสังคมนิยมในสมัยนั้น ที่แอนตี้โลกทุนนิยมและการแต่งตัวแบบอเมริกันชน (แน่นอนยีนส์ลีวายส์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของอเมริกาและโลกเสรีในขณะนั้น)
กางเกง ยีนส์เป็นเครื่องอุปโภคที่แปลกคือยิ่งเก่ายิ่งสวย ยิ่งเก่ายิ่งดูมีราคากว่าของใหม่เสียอีก สมัยผมมาเรียนมัธยมปลายที่กรุงเทพฯ วันเสาร์อาทิตย์มักจะได้เดินตลาดนัดสวนจตุจักรกับเพื่อนเพื่อ “จับ” ลีวายส์ 501 หรือ 701 มือสองงามๆ มาใส่ (ราคาลีวายส์มือสองในยุคนั้นตกตัวละหลายร้อยอยู่ครับ) ยิ่งถ้าจับได้ “ริมแดง” “ป้าย ®” หรือ “บิ๊ก E” จะยิ่งภูมิใจกลับมาโม้กันกับเพื่อนได้หลายวันไม่ยมเลิก
ตัวนี้บิ๊กE
ลีวายส์ไม่เคยสร้างแบนด์ลูก จะใช้คำว่า Levis นำหน้าจากนั้นจะมีชื่อรุ่นเป็นตัวเลขกำกับตามหลังเช่น Levi’s 501 Levi’ 505 เป็นต้น แต่ความสำเร็จตลอดกว่าหนึ่งศตสรรษของลีวายส์ก็ไม่ได้ประกันความเป็นอมตะของ กางเกงยีนส์ยักใหญ่นี้ เมื่อแบรนด์คู่แข่งหันไปจับตลาดกางเกงยีนส์แฟชั่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Calvin Klein, Donna Karen, Hugo Boss, Armani หรือ Ralph Lauren เป็นต้น ถึงแม้ว่าเมื่อเทียบเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์แล้วยังไม่มียี่ห้อไหนเทียบลี วายส์ได้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะลีวายส์ทุ่มงบประมาณไปกับสายการผลิตกางเกงยีนส์เพื่อความเป็น เลิศด้านคุณภาพความทนทาน ในขณะที่แบรนด์อื่นๆ หันมาทำการตลาดตอบสนองความต้องการทางแฟชั่นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็น Gen X และ Gen Y ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าผู้ซื้อยุค Baby Boom
ยอด ขายที่ตกลงอย่างหนักทำให้ลีวายส์ต้องดิ้นรนทุกทางทั้งปรับโครงสร้างการ บริหารใหม่ ปิดโรงงานบางแห่ง แตกแบรนด์ลูกใหม่ๆ และดำเนินกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อขยายฐานผู้ซื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขอบคุณ :http://www.oknation.net/blog/SutinTan/2009/04/25/entry-1