English language thai language lady fashion Levi's styles healthy-herb  

เปิดตัวลีวายส์® 501® รุ่นสเปเชี่ยล เอดิชั่น


ลีวายส์® ไอคอนแฟชั่นยีนส์ระดับโลก เปิดตัวกางเกงยีนส์ ลีวายส์® 501® รุ่นสเปเชี่ยล เอดิชั่น “Levi’s® 501® Dark Blue Vintage & Light Blue Vintage” ผ่านแฟชั่นโชว์จากดารา นางแบบ นายแบบสุดเท่ อาทิ เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ โตโน่ เดอะสตาร์ พร้อมด้วยการปรากฏตัวของสองร็อกเกอร์ระดับตำนานอย่างก้อง-สหรัถ สังคปรีชา และ โจ-จิรายุส วรรธนะสิน ในงาน ลีวายส์® 501® เมย์เดย์ 2012 ลีวายส์®  ไปเมื่อเร็วๆ นี้

พรศีล บุทกัสกา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ผู้แทนจัดจำหน่ายเครื่องแต่งกายและยีนส์ แบรนด์ลีวายส์® เปิดเผยว่า นับตั้งแต่กางเกงยีนส์ลีวายส์® 501® ตัวแรกได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1890 จนถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่า 122 ปีแล้ว ซึ่งความคลาสสิคของยีนส์รุ่นนี้ ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นหนึ่งในแฟชั่นระดับตำนาน เห็นได้ชัดเจนจากการที่กางเกงยีนส์ลีวายส์® 501® เป็นกางเกงยีนส์ที่ผู้ชายทั่วโลกนิยมสวมใส่มากที่สุดตลอดมา และได้รับการขนานนามจากนิตยสารไทมส์ว่าเป็น สุดยอดแฟชั่นไอเท็มแห่งศตวรรษที่ 20
ทั้งนี้ ภายในงาน ลีวายส์® 501® เมย์เดย์ 2012 ลีวายส์® ได้ประกาศความเก๋าด้วยการเปิดตัวกางเกงยีนส์ลีวายส์® 501® สเปเชี่ยล เอดิชั่น ปี 2012 ที่ได้รับการสร้างสรรค์มาเพื่อเผยตัวตนของผู้ชายถึง 2 แบบ 2 สไตล์ ได้แก่ ลีวายส์® 501® ดาร์ค บลู วินเทจ (Levi’s® Dark Blue Vintage)” ยีนส์สีเข้มสุดเท่ มาพร้อมกับผ้าพันคอลีวายส์® ดีไซน์เอกลักษณ์เฉพาะสำหรับยีนส์ 501® เท่านั้น และ “ลีวายส์® 501® ไลท์ บลู วินเทจ (Levi’s® Light Blue Vintage)” ยีนส์สีฟอกป้ายหนังแท้สุดคลาสสิก มาพร้อมกับแบนเนอร์สุดเก๋าไม่ซ้ำใคร”
โตโน่ - ภาคิน คำวิลักศักดิ์ บอกว่า กางเกงยีนส์ ถือเป็นหนึ่งในเสื้อผ้าที่ผมชอบสวมใส่มากที่สุด เพราะเวลาที่ใส่ยีนส์จะทำให้เรารู้สึกสบาย ไม่ต้องกังวลว่าชุดจะยับหรือไม่ อีกทั้งยังใส่ได้ในทุกสถานการณ์ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจของเราให้มีมากขึ้นด้วย
เป้ - อารักษ์ อมรศุภศิริ บอกว่า “ลีวายส์® 501® ถือเป็นกางเกงยีนส์ตัวแรกในชีวิตที่มีโอกาสได้สวมใส่ เนื่องจากคุณพ่อถือเป็นหนึ่งในแฟนพันธุ์แท้ของลีวายส์® จึงแนะนำให้ได้รู้จักกับยีนส์สุดคลาสสิครุ่นนี้ ซึ่งลีวายส์® 501® นั้น ถือเป็นกางเกงยีนส์สุดเท่ที่เห็นมาตลอดตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าดาราชายดังๆใ นยุคสมัยใดก็นิยมสวมใส่กัน
กางเกงยีนส์ลีวายส์® 501® สเปเชี่ยล เอดิชั่น ปี 2012 มีให้หนุ่มๆ เลือกถึง 2 แบบ 2 สไตล์ ได้แก่ ลีวายส์® 501® ดาร์ค บลู วินเทจ (Levi’s® Dark Blue Vintage)” และ “ลีวายส์® 501® ไลท์ บลู วินเทจ (Levi’s® Light Blue Vintage)” มีจำหน่ายในประเทศไทยเพียง 396 ตัว ในราคาตัวละ 7,000 บาท หนุ่มๆ ที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ลีวายส์® โทร.02-613-1466 หรือ Facebook: www.facebook.com/levis และ www.levisthailand.com

ที่มา:http://www.naewna.com/lady/7431

Levi’s 501...ตำนานที่ยังต้องปรับตัว

หลังจากที่ไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือนผมไม่ค่อยได้ใส่กางเกงสแลคทำงานอีกเลย เครื่องแต่งกายในวันปกติของผมจึงเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 (Levi’s 501) บวกเสื้อยืดเป็นหลัก ยีนส์ลีวายส์ที่มีอยู่ในตู้อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ผมใส่จนแตกเนื้อทราย เก่าจนผ้านุ่มนิ่ม แต่ไม่คิดจะบริจาคให้ใครเพราะมีความผูกพันใส่มาเกือบทศวรรษ แต่พออายุมากขึ้น เส้นรอบเอวก็ขยายเองตามธรรมชาติ ผมเริ่มอึดอัดกับกางเกงยีนส์ที่ผมใส่มาตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว วันอาทิตย์ที่ผ่านมาจึงได้ฤกษ์ไปเดินห้างเพื่อถอยลีวายส์ 501 ล๊อตใหม่ซะที
                ไปถึงห้างก็ตรงไปลองสวมลีวายส์ 501 ตามขนาดเอว แต่มันแปล่งๆ แฮะ ทำไมลีวายส์ 501 เดี๋ยวนี้มันออกจะหลุดตูดๆ หน่อยๆ แถมขากางเกงก็ออกแคบๆ แนวจิ้งเหลนไฟยังไม่รู้ เมื่อถามคนขายสาวสวยจึงทราบว่าตอนนี้กางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 รวม ทั้งกางเกงยีนส์ลีวายส์รุ่นอื่นๆ ได้ปรับเปลี่ยนทรงเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยมและตอบสนองกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นคน รุ่นใหม่มากขึ้น...อ้าว...อย่างนี้ผมก็เป็นผู้ซื้อรุ่นเก่าละซิ
                ครั้งหนึ่ง Time Magazine นิตยสารยักษ์ใหญ่ของโลกได้ยกย่องกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 เป็นเครื่องแต่งกายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20 คำยกย่องที่มีต่อลีวายส์ 501 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ของ ลีวายส์-สเตราส์ (Levis-Strauss) ซึ่งกำเนิดมาพร้อมกับยุคตื่นทองในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อกว่า 160 ปีมาแล้ว ความสำเร็จของลีวายส์-สเตราส์ในทุกวันนี้อยู่ในระดับเดียวกับเครื่องดื่ม Coke ในระดับเดียวกับมอเตอร์ไซ Harley-Davidson เป็นเหมือนสัญลักษณืที่เติบโตเคียงคู่มากับความเจริญรุ่งเรืองของประเทศสหรัฐอเมริกามาจนทุกวันนี้     
ลีวายส์ 501
               
               ในปี 1847 นาย Levi Strauss ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวเดินทางมาซานฟรานซิสโกเพื่อหวัง รวยเหมือนคนอื่นๆ ที่ต้องการขุดทองคำ เขาเริ่มอาชีพที่นั้นด้วยการค้าขายอุปกรณ์ทำเหมืองอยู่หลายปี จนมาพบว่ากางเกงที่พวกนักขุดทองสวมใส่มักขาดเร็วไม่ทนทานเพราะงานเหมืองเป็น งานหนักและสกปรก เขาจึงร่วมกันนาย Jacob Davis ค้น คิดผลิตกางเกงที่มีความทนทานเป็นพิเศษเพื่อขายให้คนทำเหมืองเหล่านั้น เขาจึงใช้ผ้าใบสีน้ำตาลมาตัดเย็บกับผ้าเดนิมซึ่งทนทานมาก จากนั้นก็จะตอกหมุดเหล็กลงไปตามมุมกระเป๋าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเข้าไปอีก ส่วนสีของกางเกงแบบใหม่ก็ย้อมสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีชุดทำงานของคนทำเหมืองใน เวลานั้น นั่นเป็นสาเหตุให้สีน้ำเงินกลายเป็นสีมาตรฐานของกางเกงยีนส์มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนป้ายยี่ห้อของยีนส์ลีวายส์เป็นรูปม้า 2 ตัวกำลังดึงกางเกงยีนส์ที่อยู่ตรงกลาง แสดงถึงความแข็งแรงทนทานแบบสุดๆ
                เชื่อกันว่าทุกวันนี้แทบทุกคนทั่วโลกไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องมีกางเกงยีนส์ไว้ในครอบครองอย่างน้อยคนละ 1 ตัว (ผมมี 4 ตัว) หากไม่มีเหตุการณ์ตื่นทอง โลกเราก็คงไม่รู้จักกางเกงยีนส์และ Levi Strauss ก็เป็นได้ 
                 
                จาก สหรัฐอเมริกากางเกงยีนส์ลีวายส์ระบาดหนักไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศสังคมนิยมในสมัยนั้น ที่แอนตี้โลกทุนนิยมและการแต่งตัวแบบอเมริกันชน (แน่นอนยีนส์ลีวายส์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของอเมริกาและโลกเสรีในขณะนั้น)
                กางเกง ยีนส์เป็นเครื่องอุปโภคที่แปลกคือยิ่งเก่ายิ่งสวย ยิ่งเก่ายิ่งดูมีราคากว่าของใหม่เสียอีก สมัยผมมาเรียนมัธยมปลายที่กรุงเทพฯ วันเสาร์อาทิตย์มักจะได้เดินตลาดนัดสวนจตุจักรกับเพื่อนเพื่อ จับ ลีวายส์ 501 หรือ 701 มือสองงามๆ มาใส่ (ราคาลีวายส์มือสองในยุคนั้นตกตัวละหลายร้อยอยู่ครับ) ยิ่งถ้าจับได้ ริมแดง ป้าย ®” หรือ บิ๊ก E” จะยิ่งภูมิใจกลับมาโม้กันกับเพื่อนได้หลายวันไม่ยมเลิก
ตัวนี้บิ๊กE
               
               ลีวายส์ไม่เคยสร้างแบนด์ลูก จะใช้คำว่า Levis นำหน้าจากนั้นจะมีชื่อรุ่นเป็นตัวเลขกำกับตามหลังเช่น Levi’s 501 Levi’ 505 เป็นต้น แต่ความสำเร็จตลอดกว่าหนึ่งศตสรรษของลีวายส์ก็ไม่ได้ประกันความเป็นอมตะของ กางเกงยีนส์ยักใหญ่นี้ เมื่อแบรนด์คู่แข่งหันไปจับตลาดกางเกงยีนส์แฟชั่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Calvin Klein, Donna Karen, Hugo Boss, Armani หรือ Ralph Lauren เป็นต้น ถึงแม้ว่าเมื่อเทียบเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์แล้วยังไม่มียี่ห้อไหนเทียบลี วายส์ได้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะลีวายส์ทุ่มงบประมาณไปกับสายการผลิตกางเกงยีนส์เพื่อความเป็น เลิศด้านคุณภาพความทนทาน ในขณะที่แบรนด์อื่นๆ หันมาทำการตลาดตอบสนองความต้องการทางแฟชั่นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็น  Gen X และ Gen Y ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าผู้ซื้อยุค Baby Boom 
                ยอด ขายที่ตกลงอย่างหนักทำให้ลีวายส์ต้องดิ้นรนทุกทางทั้งปรับโครงสร้างการ บริหารใหม่ ปิดโรงงานบางแห่ง แตกแบรนด์ลูกใหม่ๆ และดำเนินกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อขยายฐานผู้ซื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


ขอบคุณ :http://www.oknation.net/blog/SutinTan/2009/04/25/entry-1

Levi's Men's 510 Super Skinny Jean

Levi's Men's 511 Skinny Jean

Levi's Mens 514 Slim Straight

Levi's Men's Trucker


Levi's Juniors 535

levi's 501

Brad Pitt Levi's Jeans Commercial 1991


credit by : youtube.com

Levi's 501 commercial (Refrigerator) (1988)



credit by youtube.com

Livi's ตัวที่แพงที่สุด

ตัวนี้คือยีนที่แพงที่สุดในโลกครับ มูลค่า $125,000 ราวๆก่อนปี 1879











ตัวนี้รุ่นเหมือง nevada  ราคาไม่บอกแต่ความเก่าคงดูกันออก

ที่มา:http://www.hellheaven-thailand.com/board/index.php?topic=117.0

ยุคสมัย ลีวายส์

ยุคสมัย ลีวายส์
1870 - 1879 ผืนผ้าเดนิมถูกเปลี่ยนตั้งแต่ ค.ศ.1860 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เริ่มใช้คำว่า XX เมื่อปี ค.ศ.1870 หมายถึงเป็นผ้าเฮฟวี่เดนิม ที่มีคุณภาพดี โดยมีน้ำหนักเป็นพิเศษ ลีวาย สเตราสส์ และ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันจดทะเบียนหมุดโลหะ คอปเปอร์ ริเว็ตเต็ด เมื่อ ค.ศ.1873 ต่อมาได้ทำการผลิตเดนิม ยีนส์ กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม XX เกิดขึ้นมามีรูปแบบ 3 กระเป๋า จะสังเกตได้ ที่ด้านหลังมีกระเป๋าหลังด้านขวากระเป๋าเดียว รุ่นแรกๆ นี้จะเรียกว่ากางเกงโอเวอร์ออลล์ส

1880 - 1889 ได้ใช้ป้ายหนังแท้ มาทำป้ายหลังในปี ค.ศ.1886 ในยุคสมัยนี้ยังคงเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ดับเบิ้ลเอ็กซ์

1890 - 1899 ใช้คำว่า 501 คือเลขส่งมอบผืนผ้าจากโรงงานอะมอสเคียง แมนูแฟคเตอริ่ง คัมปานี ส่งยังลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เมื่อปี ค.ศ.1890 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ไฟว์ โอ วัน ดับเบิ้ลเอ็กซ์ เย็บกระเป๋าใบที่ 4 คือกระเป๋าวอช พ๊อคเกต ในปี ค.ศ.1890

1900 - 1909 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เย็บกระเป๋าหลัง เมื่อปี ค.ศ.1902 ทำให้เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์สที่มีกระเป๋าครบ 5 กระเป๋า เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ที่สมบูรณ์แบบ ผลิตรุ่น 502 มีผลิตรุ่น 201 หรือกางเกงรุ่นนัมเบอร์ 2 ผลิตของเด็กชาย เป็นรุ่น 503 ก่อนแตกหน่อออกไปอีกเป็น 503 A, และ 503 B ซึ่งเป็นของเด็กโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น รุ่น 503 ผลิตยาวถึงยุค1960s จะเป็นรุ่น 503 Z

1910 - 1919 กางเกงโอเวอร์ออลล์สเดนิม 501 XX ยังมีการผลิตรุ่น 502 รุ่น 201 ผลิตรุ่น 503 และรุ่น 333 NO.3

1920 - 1929 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ได้เย็บหูกางเกงในยุคนี้ และได้ผลิตรุ่น 201 ไปอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค 1940

1930 - 1939 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX สมบูรณ์แบบ มีหูสำหรับร้อยสายเข็มขัด มีซินช์แบ็ค เบลท์ ไว้ปรับให้กระชับในกรณีไม่ใช้สายเข็มขัด ในยุคนี้เป็นยุคที่ยกเลิกหมุดโลหะซ้าย-ขวาของกระเป๋าหลังด้านใน เปลี่ยนเป็นเย็บกระเป๋าหลังครอบคลุมไว้และเย็บแท็กกิ้งทับอีกชั้นหนึ่ง หมุดโลหะเรียกว่าคอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ นอกจากนี้ มีการใช้ป้ายเรดแท็บ และได้จดทะเบียนป้ายไว้เเล้ว จากนั้นได้ผลิตกางเกงผู้หญิง เลดี้ ลีวายส์ เวสเทิร์น โอเวอร์ออลล์ส โดยใช้ผ้าซานฟอไรเซ็ด เป็น 701 ของผู้หญิงจะมีทั้งเสื้อเบลาซส์ สำหรับใส่ไปท่องเที่ยวในยุคดู๊ดแรนช์ (Dude Ranch) และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปถึงยุค 1950s และ 1960s มีเป็นรุ่น Lot 401 Lady Levi?s ได้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิง มีขนาดเอวตั้งแต่ 25 นิ้ว ถึง 33 นิ้ว และผลิตกางเกงผู้หญิงตามแบบฉบับสำหรับใส่ขี่ม้า เป็นรุ่น R 528 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม ฟร้อนเทียร์ส Ladie?s Sanforized Denim Frontiers (ตัว R หมายถึง Riding) กับผลิตเสื้อผู้หญิง เพื่อสวมเข้าชุดกัน รุ่น RJ 92 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม แจ๊คเกต (Ladie?s Sanforized Jacket)

1940 - 1949 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX มีรุ่นผลิตอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1942 จนถึง ค.ศ.1944 ทางลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส ที่เขาผลิตว่าเป็นรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 บางที่อาจจะใช้คำว่า World War 2 เป็นรุ่น 501 XX, S 501 XX

1950 - 1959 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ถือได้ว่าเป็นที่สุดยอดอีกครั้งหนึ่งของลีวายส์ เพราะผ่านการผลิตมาแต่ละยุคสมัยจนลงตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์ของอเมริกา ภายหลังมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาราฮอลลีวู้ด นักร้องร็อกแอนด์โรล ใครๆ ที่เป็นคนสำคัญในวงสังคมอเมริกัน และของโลกต่างหันมาสนใจในผืนผ้าเดนิม มีการเปลี่ยนแปลงป้ายหลัง จากป้ายหนังแท้ มาเป็นป้ายกระดาษปะเก็น ประเดิมรุ่นที่คำว่า Every Garment Guaranteed Lot 501 XX

1960 - 1969 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ได้ผลิตกางเกงเดนิม 501 อยู่ระหว่างคาบเกี่ยวจะเปลี่ยนไปเป็นกางเกงยีนส์ 501 โดยมีการแสดงเกรดของผ้า โดยใช้ตัวอักษร A, S, F อยู่บนตัวเลขหมายรหัส 501 ของป้ายหลังที่เป็นกระดาษปะเก็น ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เคยเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX และได้เปลี่ยนจากคำว่าเดนิม มาเป็นคำว่ายีนส์ (Jeans) ในยุคนี้ และมีการผลิตยีนส์ ลีวายส์สีขาวขึ้นมา มีการผลิตรุ่น 505 โดยเป็นรุ่นที่ใช้ซิปแทนกระดุม ยุคนี้ได้ผลิตผ้า Shrunk to Fit มาทำเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 0115 ผืนผ้านี้จะไม่มีการหดตัว

1970 - 1979 กางเกงยีนส์ 501 XX เปลี่ยนป้ายเรดแท็บ จากที่เคยมีตัวอีใหญ่ (E) มาเป็นตัวอีเล็ก (e) 501รุ่นจากนี้ไปจึงติดป้ายเรดแท็บที่มีคำว่า Levi?s ให้สังเกต ตัวอี นี่เริ่มเป็นจุด ข้อแบ่งแยกป้าย เมื่อคนที่หากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่เป็นรุ่นที่แตกต่างกันระหว่างบิ๊กอี และไม่ใช่ จึงทำให้กางเกงที่มีป้ายบิ๊กอีมีราคา

1980 - 1989 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้กลายมาเป็นรุ่น 501 0000 เลขหมาย 0000 เป็นรหัสแทน XX และได้กลับมาเป็น 501 xx พิมพ์ตัวดำ ตัวเอ็กซ์ 2 ตัว จะเล็กเกือบครึ่งของตัวเลข แล้วก็ได้กลายมาเป็น 501 ตัวใหญ่พิมพ์ สีแดง

1990 - 1999 กางเกงยีนส์ 501 XX ยังมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้ได้ออกลีวายส์ วินเทจ คล็อทธิ่ง ดังได้เขียนบอกกล่าวมาข้างต้น

2000 - 2009 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้ผลิตไปตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.2000 นิตยสารไทม์ ได้เขียนถึงกางเกงยีนส์ 501 Jeans ลงบทความที่มีชื่อว่า ?The Clothing Piece of The 20 th Century? เครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ในยุคนี้ได้ผลิตกางเกงลีวายส์ Engineered Jeans ผลิตขึ้นมาเพื่อคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ร่วมยุคปี 2000 มาถึง ลีวายส์ เอนจิเนียเร็ด เพื่อการสวมใส่สำหรับทุกกิจกรรมที่คุณสนใจ ต่อมาได้มีการผลิตกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุด Levi? sจ Type 1TM Jeans มาเขย่าตลาดแฟชั่นอย่างต่อเนื่อง สินค้าในยุคครบรอบ 150 ปี คอลเลคชั่นใหม่ 501 Celebration Jeans คือ Levi?s Nevada Jeans, Levi?s Red Tab Jeans, Levi?s Engineered Jeans และ Levi?s Vintage Clothing

Original for 150 years ล่วงเข้าสู่ปี ค.ศ.2003 ความสำคัญของ Brand ลีวายส์เปี่ยมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยีนส์โลก คือเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบการก่อตั้งบริษัท ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. 150 ปี และครบรอบ 130 ปี ที่ลีวาย สเตราสส์ และจาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันรังสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์เดนิมยีนส์ขึ้นมาเป็นมรดกของโลก กิจกรรรมสำหรับโอกาสสำคัญเช่นนี้ ได้รับการดูแลการจัดงานจากบริษัทตัวแทนของลีวายอย่างเป็นทางการทั่วโลก ในประเทศไทยบริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด ได้จัดงานขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 27 กันยายน ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยภายในงานนอกจากจะมีดารานักแสดงที่เป็นผู้ชื่นชอบหลงใหล Brand ลีวายส์มาร่วมงานแล้ว ยังมีนิทรรศการ Story ต่างๆ ของ Brand ลีวายส์อยู่ด้วย สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งที่นำเสนอในงานนี้คือ มีการค้นพบกางเกงยีนส์ลีวายส์ตัวหนึ่งที่เหมืองในเนวาดา หลังจากตรวจสอบ ลินน์ ดาวนี่ย์ นักประวัติศาสตร์ยีนส์ลีวายส์ แห่งบริษัทลีวาย ได้รับการยืนยันว่า นี่แหละคือกางเกงยีนส์เก่าแก่ที่สุดในโลก ผลิตตัดเย็บในปี 1890 บริษัทจึงเปิดให้มีการประมูล พิพิธภัณฑ์ลีวายส์ได้ประมูลมันกลับมาสู่บ้านเกิด ด้วยราคากว่า 4 หมื่น 6 พันกว่าเหรียญ หรือประมาณ 1.8 ล้านบาท สิ่งที่ได้มานั้นแทบไม่น่าเชื่อว่ากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่ผลิตจากผ้าฝ้ายนั้น มันสามารถมีอายุคงทนอยู่ได้เกินกว่า 100 ปี นี่คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่ลีวายส์ภาคภูมิใจนักหนา ว่าเขาคือ "ยีนส์ที่ทนทานทรหดที่สุดในโลก"

ที่มา:http://www.hellheaven-thailand.com/board/index.php?topic=117.0

ประวัติLevi's พ่วงด้วย ยีนส์ที่แพที่สุดในโลก

คงจะมีเครื่องแต่งกายไม่กี่ Brand ที่สามารถเล่า Story นั้นๆได้อย่างไม่รู้จบ แต่ในความน้อยนิดนั้น ย่อมต้องมี Story ของยีนส์รวมอยู่ด้วย และเมื่อกล่าวถึงยีนส์ หากไม่ใช่ Brand ลีวายส์ (Levi?s) คอยีนส์ทั้งหลายก็คงจะรู้สึกเหมือนกับว่า กำลังขาด Brand สำคัญที่เสมือนพี่ใหญ่ของวงการยีนส์โลกไปอย่างไม่น่าจะให้อภัย
เพราะ 150 ปี ของลีวายส์ปีนี้ คงไม่ได้มีความหมายเพียงว่า นี่คือ Brand ที่ผลิตกางเกงยีนส์ออกมาเป็นรายแรกๆของโลกเท่านั้น แต่ย่อมหมายถึงคุณภาพ ที่เชื่อถือได้ เป้าหมายที่ชัดเจน และการทำการตลาดแบบครบวงจร ตั้งแต่ 150 ปีที่แล้ว ประเดิมที่ชุดแต่งกายสบายๆ เจนตาแบบนี้... เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ...อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ในสังคมไทย ทว่าสิ่งนี้แหละ คือ การรับวัฒนธรรมการแต่งตัวมาจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกางเกงยีนส์ต้องเป็นลีวายส์ ที่จะให้ความรู้สึกมั่นใจและเท่กับผู้สวมใส่ มาถึงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดในยุค เจมส์ ดีน พระเอกชื่อดังสมัยนั้นสวมใส่ยีนส์ทุกครั้ง ไม่แตกต่างกับ คลิ้นต์ อีสต์วู้ด ในยุคต่อมา ริชาร์ด เกียร์ ใช้ลีวายส์ 501XX ขึ้นลายเนื้อทราย ทำให้คนดูภาพของเขาถึง แอบอิจฉาลึกๆ กับความงามของกางเกงยีนส์ สำหรับ จอห์น เดนเวอร์ เลือกใส่เสื้อยีนส์ลีวายส์ ผ้าแชมเบรย์ ซึ่งเป็นรุ่นไม่ซีดจาง บ็อบ ดีแล่น ก็เลือกใช้ลีวายส์ ฝ่ายนางเอกสาว มาดอนน่า ใส่ลีวายส์กระดุมเป็นหลัก ส่วน บรูค ชีลด์ส ก็ใส่ยีนส์ตลอดเวลา เช่นเดียวกับดาราสาว ผิวดำ ไทร่า แบงค์ส จากเรื่อง Coyote Ugly เลือกใช้ ลีวายส์ ส่วนอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ บุช, โรนัลด์ เรแกน, จิมมี่ คาร์เตอร์ ต่างก็ชื่นชอบการใส่ยีนส์ตามแบบฉบับของตน โดยเฉพาะคาร์เตอร์ ได้ประกาศให้สาธารณชนรับทราบว่า ?I am one of their best customer ; Levi Strauss & Co.? ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งของดาราฮอลลีวู้ด รวมถึงอดีตผู้นำประเทศที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ไม่ต่างอะไรกับช่องทางส่งเสริมการขายยีนส์ โดยได้รับการการันตีจากผู้มีชื่อเสียงชั้นนำของอเมริกันชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายของบริษัทได้อย่างเต็มร้อย และวิธีนี้ถูกถ่ายทอดข้ามทวีปมายังผู้บริโภคชาวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ห้างหุ้นส่วนจำกัดอา.จวน (R.jaun Trading ) มีจดหมายไปถึงบริษัทลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. (Levi Strauss & Co.) ซานฟรานซิสโก ได้ขอสั่งซื้อกางเกงลีวายส์สแล็คส์รูปแบบทรงของคาวบอย เสื้อคาวบอย เข็มขัดคาวบอย แต่ยังไม่มียีนส์เข้ามาขายในประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้เห็นสินค้า Brand ลีวายส์ ตัวจริงเสียงจริง 22 ปีต่อมา ลีวายส์จึงสยายปีกเข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทย ชื่อบริษัทลีไว สเตร๊าสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ใช้ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท เพื่อเป็นตัวแทนนำลีวายส์เข้ามา มีสำนักงานใหญ่และโชว์รูมในตึกอื้อจือเหลียง โดยมอบหมายให้บริษัทแองโกล ไทย จำกัด เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย ขณะนั้นลีวายส์รุ่น 505 ขากระบอก- ขาบาน เสื้อแขนยาวลายสก๊อต กระดุมมุก กระเป๋าเล็กๆ ในรูปแบบของเสื้อคาวบอย ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นในยุคนั้น ส่วนนักศึกษามักจะเลือกแต่งตัวด้วยเสื้อยืด กางเกงยีนส์ลีวายส์ และรองเท้าแตะ ล่วงเข้าช่วงประมาณปี พ.ศ. 2518 แองโกลไทย หมดสัญญาจัดจำหน่าย อื้อจือเหลียงเห็นช่องทางเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายลีวายส์ จึงตั้งบริษัทใหม่ ชื่อบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด มาดูแล Brand ลีวายส์ อย่างต่อเนื่องทันที ทั้งนี้บริษัทแม่พาราวินเซอร์ มิได้ทำธุรกิจเพียงนำเข้าและขายยีนส์ลีวายส์อย่างเดียว แต่รับหน้าที่ผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence จากบริษัท ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เป็นการผลิตบางรุ่นที่บริษัทแม่ให้ผลิต พร้อมกันนี้ได้ยกเลิก บริษัท ลีไว สเตร๊าสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด จากนั้นปี พ.ศ.2530 บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด รับบทบาทผู้จัดจำหน่ายและผลิตยีนส์ลีวายส์ แบบ Under Licence อย่างเป็นทางการแทนพาราวินเซอร์ กับอื้อจือเหลียง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ผ้าเดนิม หมุดย้ำโลหะ เรดแท็บ Value หลักของ Brand ลีวายส์ หลายคำถามของคนรักยีนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องควักกระเป๋าเพื่อซื้อ Brand ที่มีอายุ 150 ปีเช่นนี้ มักจะมีข้อสงสัยหรือความต้องการก่อนจะซื้อ อาทิ เป็นรุ่นผ้าริมแดงหรือไม่ รุ่นนี้มีเป๊กหลังไหม และเป็นรุ่นอี (E) ตัวใหญ่ หรือไม่ ความต้องการบางส่วนข้างต้นไม่ใช่เรื่องธรรมดามากนัก เพราะทันทีที่ตกลงใจเลือกกางเกงลีวายส์แบบผ้าริมแดง หรือรุ่นที่มีเป๊กหลัง หรือรุ่นอี (E) ตัวใหญ่ ผู้ซื้อจะต้องจ่ายสูงกว่ารุ่นที่ไม่มี 3 สิ่งนี้ประมาณ 10% ให้กับลีวายส์ รุ่น Vintage Clothing ซึ่งถือเป็น Value มหาศาลที่เกิดจากวัตถุดิบที่บริษัทมีอยู่แล้ว และเป็นไปตามโจทย์สำคัญคือ ความต้องการของลูกค้า บุคคลแรกที่สร้างคุณค่าทุกประเภทลงบนเนื้อผ้าของยีนส์ลีวายส์ คงจะไม่พ้นลีวาย สเตราสส์ ผู้มีความคิดเปลี่ยนแปลงกางเกงจากผืนผ้าใบ ให้เป็นผืนเนื้อผ้าฝ้ายเฮฟวี่ เดนิม หรือผืนผ้าเนื้อฝ้ายเต็มร้อย คำว่า เดอ นิม (Denim) มาจาก De Nimes แห่งเมืองนิมส์ เป็นเมืองที่มีช่างฝีมือในการทอผืนเนื้อผ้า จนได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก ต่อมาอีกช่วงเวลาหนึ่งจึงถูกเรียกว่าเดนิม หรือต่อมาเรียกติดปากกันว่าผ้ายีนส์ ซึ่งในยุคแรกจะต้องมีคุณสมบัติเมื่อลีวายส์นำมาใช้คือ ต้องมีการหด (Shrinkage) ต้องมีการยับย่น (Wrinkled) และต้องมีการซีดจาง (Faded) ล่วงเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คุณสมบัติของผ้าสำหรับ Brand ลีวายส์เปลี่ยนเป็นด้ายฝ้ายดิบที่มีคุณภาพดี ย้อมด้วยสีครามเข้มเป็นพิเศษ และการทอยอดเยี่ยม สำหรับผู้สวมใส่แล้วยังต้องเพิ่ม Value ในเนื้อผ้าอีกเรื่อง คือเป็นผ้าริมแดงหรือไม่ เพราะ ผู้ซื้อมักจะถูกผู้ขายอธิบายให้ฟังว่า ผ้าริมแดงของ Brand ลีวายส์ มีน้อยมาก และส่วนใหญ่เป็นรุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ราคาย่อมสูงขึ้นตามจำนวนสินค้าที่มีน้อย ยิ่งเมื่อต้องไปเทียบกับกางเกงลีวายส์ตัวอื่นที่ไม่มีริมแดงแม้จะเป็นรุ่น เดียวกันก็ตาม แต่ราคาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว เรื่องผ้าริมแดงของยีนส์พี่ใหญ่ Brand นี้ เป็นหลักการธรรมดาของการทอผ้า ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่เจริญ ใช้เครื่องทอโบราณ ผ้าเดนิมที่ทอออกมาเป็นผ้าหน้าแคบ 29 นิ้ว ผ้าหนึ่งม้วน 100 หลา ตัดกางเกงได้ 50 ตัว (กางเกงยีนส์ 1 ตัวใช้ผ้า 2 หลาสำหรับผ้าหน้าแคบ) ดังนั้น ในจำนวน 50 ตัว จึงมีริมแดงทั้งหมด หลังปี พ.ศ. 2513 เครื่องทอผ้าพัฒนาขึ้นเป็นทอผ้าหน้ากว้าง 60 นิ้ว ความยาวผ้ายังคงอยู่ที่ 100 หลา จะตัดกางเกงได้ 100 ตัว (กางเกงยีนส์ 1 ตัวใช้ผ้า 1 หลา สำหรับผ้าหน้ากว้าง) ซึ่งความกว้างของหน้าผ้าเช่นนี้ทำให้กางเกงยีนส์ลีวายส์หลายตัวไม่มีริมแดง แต่การค้นหากางเกงริมแดงเท่าที่ผลิตออกมาแล้ว ยังอยู่ในความต้องการของผู้สวมใส่ บางตัวซื้อ-ขายในตลาดด้วยราคาหลักพันปลายๆ หรือหมื่นต้นๆ เมื่อเห็นความต้องการของตลาดเช่นนี้ บริษัทลีวายจึงสั่งการเฉพาะผลิตผ้าตัดกางเกงให้มีริมแดงออกวางขายอย่างหาไม่ ยากอีกต่อไป ส่งผลให้ราคาขายลดลงอย่างมาก เพียงมีเงินในกระเป๋า 2 พันต้นๆ ก็สามารถซื้อกางเกงลีวายส์ริมแดงของใหม่ของแท้ได้ในประเทศไทย ?คนชอบลีวายส์จำนวนหนึ่งที่มากพอสมควร จะยังคงมองหาลีวายส์ริมแดงในแต่ละรุ่น เพราะข้อมูลเหล่านี้พวกเขาได้รับรู้มาจากรุ่นพี่ เพื่อน ตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา จนกระทั่งโตขึ้นมีความรู้เรื่องยีนส์มากขึ้นก็จะเปลี่ยนมาซื้อลีวายส์ และถ้าหาได้ก็จะซื้อกางเกงลีวายส์ริมแดงมาใส่ด้วยความเท่และภูมิใจกับ Brand นี้?ผู้เชี่ยวชาญ Brand ลีวายส์ กล่าวถึง Value ของริมแดงลีวายส์ที่นับวันจะไม่จางหายไปจากความสนใจของคอลีวายส์ เพราะเด็กรุ่นใหม่เติบโตอยู่ทุกวัน Value ของยีนส์พี่ใหญ่ไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เป๊กหลังที่ผู้ซื้อจะถามถึง และพลิกดูด้านในของกระเป๋าหลังกางเกง เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะยอมจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อแลกกับคุณค่าทางความรู้สึก เป๊กหลัง คือชื่อคนไทยเรียกติดปาก ทั้งที่ชื่ออย่างเป็นทางการของสิ่งนี้คือ หมุดโลหะดำ (Copper Riveted) เกิดจากการประดิษฐ์ของ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส หลังจากนั้นได้จูงมือลีวาย สเตราสส์ ไปยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการใช้หมุดโลหะกับเสื้อผ้า และสำนักทะเบียนสิทธิบัตรแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกทะเบียนรับรองในเรื่องการจดสิทธิบัตร เรื่องการใช้หมุดโลหะ ไว้ให้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 หมุดโลหะของลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. มีรูปลักษณ์คล้ายกับหมวก มีแผ่นเหมือนปีกหมวกกว้างไว้รองรับเมื่อตอกย้ำ มีปุ่มเล็กคล้ายที่สวมหัวเอาไว้ยึดมั่นกับแกนเสาของฐานหมุดโลหะด้านล่าง ที่ฐานรอบๆเม็ดปุ่มเล็กนั้น มีตัวอักษรเป็นตัวบุ๋มลึกลงไป อ่านได้ชัดเจนมีคำว่า L S & C O - S F ตัวอักษรย่อมีความหมายถึง ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ซานฟรานซิสโก (Levi Strauss & Co. Sanfrancisco) ส่วนหมุดโลหะที่เป็นตัวล่าง ที่ใต้ฐานมีตัวอักษรเป็นตัวนูนสามารถอ่านออกมาได้ L.S.& CO - S.F. ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับหมุดโลหะส่วนบน หมายถึงบริษัทผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่มีนามว่าลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. แห่งเมืองซานฟรานซิสโก การที่ได้ตอกหมุดโลหะทองแดงย้ำไว้ตามจุดตำแหน่งต่างๆ ที่เห็นสมควร เพื่อเพิ่มความหนาแน่นทนทานให้กับเนื้อผ้า เช่น ตามรอยโค้งของขอบมุมกระเป๋าของกางเกงยีนส์ ครั้งแรกสุดได้ใช้กับกางเกงลีวายส์ บริเวณขอบมุมบนกระเป๋าด้านหลังของกางเกง ที่อยู่บนขอบมุมกระเป๋าด้านซ้ายขวาทั้งสองกระเป๋า แต่แล้วลูกค้า Complaint หมุดโลหะดังกล่าว ไปสร้างรอยขีดข่วน เก้าอี้นั่ง เบาะโซฟา และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ลีวายส์จึงยกเลิกหมุดโลหะ บนตำแหน่งของขอบมุมกระเป๋าที่ด้านหลังทั้งซ้ายและขวาอีกต่อไป จากนั้นได้ประดิษฐ์หมุดโลหะอีกแบบหนึ่ง หมุดโลหะแบบใหม่ที่ใช้ตอกย้ำตรงขอบมุมบนกระเป๋าด้านหลังกางเกงในตำแหน่งเดิม ที่ไม่มีการตอกปุ่มของหมุดโลหะนั้นไว้ แต่ได้มีหมุดโลหะย้ำและเย็บซ่อนไว้ด้านใน เพื่อจะไม่ให้เกิดการขีดข่วน ไม่ทำความเสียหายให้เหมือนดังที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา หมุดโลหะที่ซ่อนตัวอยู่นี้ ถูกขนานนามว่า คอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ (Concealed Copper Rivets) ที่ฐานของหมุดโลหะนั้นๆ ยังมีอักษรเป็นตัวนูน LS&CO SF ในประเทศไทยเรียกสิ่งนี้ว่าเป๊กหลัง ทั้งนี้ เป๊กหลังของ Brand ลีวายส์ยุคปัจจุบัน จึงมีแบบหมุดโลหะซ่อนตัวอยู่ และไม่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งแบบหลังทางบริษัทได้ผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั่ว โลก ที่พร้อมจะจ่ายเงินแพงกว่าแบบหมุดโลหะซ่อนตัว เช่นเดียวกับป้ายผ้าเรดแท็บ (Red Tab) มีอักษรตัวสีขาว มีคำว่า LEVI?S ติดไว้บนขอบมุมทางซ้ายของกระเป๋าขวาที่ด้านหลังของกางเกงยีนส์ลีวายส์ทุกตัว นั้นคือ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน Design เรดแท็บ จาก E (อีตัวใหญ่) ให้เป็น e (อีตัวเล็ก) เพื่อความโดดเด่นตามความนิยมของตลาดตั้งแต่ ค.ศ. 1970 จาก LEVI?S กลายเป็น Levi?s ซึ่งก็ยังคงครองใจคอยีนส์อยู่ทั่วโลก แต่สิ่งที่นักการตลาดลีวายส์ในยุคดังกล่าวมองข้ามช้อตมากกว่านั้นคือ การโหยหา Brand ลีวายส์ที่มีเรดแท็บเป็น E (อีตัวใหญ่) ของคนในยุคต่อมา ซึ่งก็ไม่ผิดคาดแต่ประการใด ส่งผลให้ราคากางเกงยีนส์ลีวายส์รุ่น E (อีตัวใหญ่) ถีบตัวสูงขึ้นอย่างมากในตลาดยีนส์ เพราะเป็นรุ่นเก่า สินค้ามีน้อย และในที่สุดก็เป็นที่มาให้บริษัทต้องผลิตกางเกงยีนส์ลีวายส์ มีเรดแท็บเป็น E (อีตัวใหญ่) เพื่อสนองความต้องการให้นักเล่นยีนส์ ซึ่งแม้ว่าราคาจะไม่แพงมากมายเฉกเช่นความต้องการสินค้าในยุคหลังปี 1970s แต่ราคา ณ ปัจจุบันก็ต้องเรียกว่าไม่ต่ำกว่า 2 พันแน่นอน
501 xx ถึง Type 1TM from Classic to Modern หากสังเกตช่วงเวลาของการสร้าง Brand ลีวายส์ในแต่ละยุคจะพบว่า Strength ของ Brand อยู่ที่ความเป็น Original ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมาโดยมีรุ่น 501 เป็นตัวชูโรง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และปฏิเสธไม่ได้ว่าจะยาวต่อเนื่องไปยังอนาคต ข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางหลายสิบปีที่ผ่านมา ภาพการแข่งขันตลาดยีนส์ระดับ World Wide คอยีนส์จะพบว่า การที่ยีนส์ยุโรป อาทิ รีเพลย์ ดีเซล เวอร์ซาเช่ อาร์มานี เป็น อาทิ เดินหน้าลงสนามมาแชร์มูลค่าตลาดยีนส์ทั้งโลก ด้วยการวาง Positioning ให้เป็นยีนส์ที่เยี่ยมยอดด้วยการ Design และ In Trend ทุกฤดูกาล นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนความรู้สึกคนใส่ยีนส์ได้ว่า กางเกงยีนส์ไม่จำเป็นต้องมีรูปทรง Basic อย่างลีวายส์เสมอไป รูปแบบยีนส์สไตล์ใหม่ๆ จึงเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นยีนส์แฟชั่นเหมาะสำหรับคนที่ต้องการสวมใส่ยีนส์รูปแบบใหม่ๆ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้มีราคาสินค้าสูงกว่าพี่ใหญ่ของยีนส์โลกอย่างลีวายส์ค่อน ข้างมาก จนกระทั่งผู้ใช้สามารถนำจุดเด่นของยีนส์ยุโรปที่กล่าวถึงนี้มาเป็นตัว Up Grade ตนเองได้อย่างสบายๆ ลีวายส์ย่อมไม่ปล่อยให้เรื่องแฟชั่นยีนส์มากระทบตนเองแน่นอน ดังนั้น แผนการตลาดในปี ค.ศ.2000-2009 จึงส่งกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุด Levi? sจ Type 1TM Jeans (เป็นการจดทะเบียนใหม่) ลงตลาด ส่วนประกอบหลักของ Brand ลีวายส์อยู่ครบถ้วน แต่ทำทรงใหม่ ใช้กระดุม หมุดโลหะใหญ่กว่าปกติ เช่นเดียวกับการใช้ด้ายเส้นใหญ่เย็บ และเย็บให้มีช่องว่างห่างกว่าปกติ ทั้งหมดคือความแตกต่างจาก Original และเป็นการสร้าง Value ขึ้นมาใหม่ อีกไม่นานนัก กลุ่มนักนิยมแฟชั่นยีนส์จะได้เห็น Brand ลีวายส์รุ่นต่างๆ ที่แตกลูกหลานออกมาในสายของ Levi? sจ Type 1TM Jeans
กลับมาถึง Original ลีวายส์ 501 หลังจากบริษัทลีวาย ได้เริ่มผลิตกางเกงสำหรับสวมใส่ทำงาน ค.ศ.1855 กางเกงดังกล่าวถูกเรียกว่า Overalls หรือ Waist Overalls และเรียกตามรูปแบบทรงกางเกงหลวมๆ ว่า Pantaloons เมื่อผลิตมาถึงปี ค.ศ.1870 เป็นต้นมา จะถูกกำกับด้วยตัวอักษร XX หมายถึงความเป็นพิเศษของน้ำหนักผืนเนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีที่นำมาใช้ตัดเย็บ กางเกง ส่วนเลข 501 เกิดจากบริษัทลีวายได้รับอนุญาตจาก Amoskeag Manufacturing Company โรงงานผลิตผ้า ให้ใช้เลขหมายของการส่งมอบผืนผ้าเดนิมจากโรงงาน เพื่อประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบว่า กางเกงสำหรับสวมใส่ทำงาน ได้ตัดเย็บจากเนื้อผืนผ้าเดนิมที่มีคุณภาพดีเลิศแห่งยุคสมัยนั้น 501 XX จึงถือกำเนิดตั้งแต่ 100 กว่าปีที่แล้วจนกระทั่งส่งความคลาสสิกมาถึงปัจจุบัน ทั้งในรุ่นผลิตขึ้นมาใหม่ ด้วยเนื้อผ้าที่เรียกว่าเนื้อทราย หรือขัด ฟอก แบบ Stone Wash เพื่อให้กางเกง 501 ของใหม่แต่ดูเหมือนของใช้แล้ว ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของ Brand ลีวายส์ นอกจากนี้ความคลาสสิกของ 501 XX ยังมีความลึกซึ้งหลงเหลืออย่างมากมายสำหรับรุ่นที่ผลิตในยุคต้นๆของลีวายส์ คนที่ชอบเล่นของเก่าก็ค้นหาเลือกซื้อในตลาดยีนส์ลีวายส์มือสอง ส่วนคนที่ชอบรูปแบบเก่าแต่ต้องเป็นของใหม่ ทางบริษัทก็ผลิตลีวายส์ Vintage ต่างๆ ออกมา Vintage ในความหมายของคนวงการยีนส์คือ กางเกงยีนส์รุ่นเก่าๆ เคยผ่านการสวมใส่มาก่อน เป็นกางเกงไม่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ จึงทำให้หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมยีนส์ คนรุ่นใหม่อยากใส่ยุคเก่าของคนรุ่นก่อน จึงบัญญัติศัพท์ว่า Vintage คือผลิตภัณฑ์รุ่นหนึ่งๆ ที่คนพึงพอใจ...ปัจจุบันคำนี้ไว้ใช้เรียก Brand ของลีวายส์ที่เป็นสินค้าใหม่แต่ทำเลียนแบบสินค้าเก่า เช่น 501 xx รุ่น 110 ปี หรือรุ่น 150 ปี เป็นต้น ?ปัจจุบันไม่ว่าใครต้องการ 501 Vintage ดังๆ สามารถซื้อของผลิตใหม่ได้อย่างง่ายดาย เพราะบริษัทลีวาย ได้ผลิตรุ่น Vintage ออกมารองรับความต้องการของตลาดทั่วโลก? ผู้เชี่ยวชาญเรื่องยีนส์ลีวายส์กล่าวเพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้ Brand ลีวายส์ ยังคงตั้งมั่นกับจุดยืนที่เด่นมากของตนเองอย่างแน่วแน่ และสินค้าทุกรุ่นสร้าง Value ด้วยตัวเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเก่าลายครามอย่าง 501 XX หรือสดซิงอย่าง Type 1TM ในขณะที่ระดับ World Wide เดินเครื่องทางการตลาด วกมาที่ตลาดลีวายส์ในประเทศไทย การรับรู้ Culture Value อย่างเป็นทางการจาก บริษัท ดีทแฮล์ม เทรดดิ้ง จำกัด (ส่วนผลิตภัณฑ์ ลีวายส์) ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและฝ่ายผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทลีวาย ดูเหมือนจะไม่เข้มข้นเท่าที่ควร เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Brand ในแต่ละด้าน เกิดจากการอ่านเรื่องราวของยีนส์ หรือประสบการณ์ตรงของผู้ใช้ยีนส์ ที่ถามไถ่ในวงเพื่อนฝูง หรือตาม Shop ของผู้ค้ารายย่อย เช่น อินทรา ประตูน้ำ ฯลฯ ซึ่งคนรู้จักยีนส์ลีวายส์เป็นอย่างดีจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าจะซื้อลีวายส์จะไม่ซื้อที่ Outlet ของดีทแฮล์มในห้างสรรพสินค้า แต่จะซื้อตาม Shop ที่นำเข้ายีนส์ลีวายส์อย่างถูกกฎหมาย ?ถ้าคุณมีเงินก็สามารถไปเลือกซื้อ ลีวายส์ในตลาดมืดได้หลายแห่ง เช่น ที่แอลเอ จะมีลีวายส์ทุกรุ่นทุกแบบทั้งที่เป็น Vintage หรือ Type 1TM เลือกซื้อได้อย่างสบายใจ โดยสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในจุดนี้ เป็นของแท้มาจากบริษัทลีวายโดยตรง และเมื่อเลือกซื้อได้เรียบร้อยมาถึงประเทศไทย ก็จ่ายค่าขนส่ง ค่าภาษีขาเข้าให้กรมศุลกากร ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็น 100% เพียงเท่านี้ Shop คุณก็มีลีวายส์ที่ประทับตรา Made in USA ผลิตโดยบริษัทลีวายโดยตรง วางขายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย? สนนราคาการนำเข้ายีนส์ ลีวายส์ใหม่เช่นนี้ ราคาที่ขายใน Shop ใกล้เคียงกับราคา Outlet ของ ดีทแฮล์ม แต่ข้อดีอย่างหนึ่งเมื่อซื้อใน Shop คือต่อรองราคากันได้นิดหน่อย และท้ายสุดฝากฝังถึงรุ่นต่อไปที่กำลังสนใจอยู่ หากมีมาถึงแล้วกรุณาติดต่อกลับทันที ซึ่ง Relationship ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ยิ่งช่วยสร้าง Culture Value Brand กับลีวายส์ให้มากขึ้น
Culture for Sell ภาพของยีนส์ได้สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นความพยายามของมนุษย์ในอดีตได้รู้จักฝ้าย คิดกรรมวิธีการปลูกเพื่อมาทำเสื้อผ้า ต้องมีแรงงานทั้งที่เป็นทาส หรือเกษตรกรในไร่ฝ้าย รับจ้าง เก็บดอกฝ้าย คิดค้นเครื่องแยกเมล็ดออกจากกัน คิดค้นการปั่นเกลียวเส้นด้าย ค้นหาสีธรรมชาติ ?อินดิงโก้ฟีร่า? เพื่อนำมาเป็นสีย้อม คิดค้นเครื่องทอ กรรมวิธีการทอ รูปแบบการตัดเย็บ กระทั่งถึงมีคนซื้อไปสวมใส่ และพัฒนามาเป็นการแต่งกายด้วยยีนส์ให้ความ รู้สึกสบายๆ ความรู้สึกเช่นนี้คนไทยเองก็รับเข้ามาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่บูมมากๆ ใน ปี ค.ศ.1997 ซึ่งคนใช้ยีนส์จะสวมใส่ในวันพักผ่อน แต่ขณะนั้นจัดเป็นยุค Baby Boom ก่อเกิดคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Yuppy คนเหล่านี้จะสวมเสื้อเชิ้ต นุ่งกางเกงยีนส์ไปทำงาน ไม่เคร่งครัดกับจารีต การแต่งตัวด้วยเสื้อเชิ้ตกางเกงสแล็คส์อีกต่อไป Culture ในการแต่งตัวเช่นนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน เพราะคนทำงานในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ หรือเจ้าของบริษัทการค้าใหญ่ๆ จำนวนมาก ล้วนสวมใส่ยีนส์ไปทำงาน ปัจจุบันรสนิยมในการสวมใส่ยีนส์ของคนไทยมิได้หดหายไปไหน กลับได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งคนทุกรุ่นต่างก็ไม่ปฏิเสธว่ามีความตั้งใจจะต้องสัมผัสกางเกงยีนส์ ลีวายส์ คุณค่าของ Brand ลีวายส์ คงไม่สิ้นสุดง่ายๆ ตราบเท่าที่การส่งผ่านแฟชั่นเครื่องแต่งกายออกสู่ตลาดโลก ได้กลายเป็นการส่งออกวัฒนธรรมของอเมริกันชนที่สำคัญมาก ชนิดไม่แพ้เรื่องอื่นๆ แม้แต่น้อย กว่าจะเป็น ลีวายส์ คนจำนวนมากจากยุโรปต่างกระเสือกกระสนหลั่งไหลสู่ดินแดนโลกใหม่ หนึ่งในนั้นคือพี่น้องในสกุลตระกูลสเตราสส์ เป็นชาวบาวาเรียน ในแคว้นทางตอนใต้ของเยอรมนี โยกย้ายถิ่นฐานมาถึงอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1847 ทำมาหากินอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ได้ระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ตะลอนเร่ขายหมวกฟาง ผืนผ้า เสื้อสำเร็จรูป ที่ตัดเย็บด้วยผ้าลินิน

ที่มา:http://www.hellheaven-thailand.com/board/index.php?topic=117.0

ประวัติกางเกงยีนส์ levi's

ประวัติกางเกงยีนส์ levi's
กางเกงยีนส์ลีวาย( Levi´s Blue Jeans ) ปิ๊ง! จากคนขุดเหมืองนายลีวาย สเตราส์( Levi Strauss ) ชาวเยอรมัน ในยุคตื่นทองเมื่อปี พ.ศ. 1850 ซึ่งทุกคนต่างมุ่งหน้าไปขุดทองที่เหมืองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สเตราส์เดินทางไปที่นั่น เขาไปเพื่อขายของ ซึ่งของที่นำไปขายได้ขายหมดระหว่างทาง เหลือเพียงผ้าเต็นท์เท่านั้น เมื่อไปถึงเหมือง ชาวเหมืองคนนึงได้บอกให้เขาหากางเกงที่ทนทานมาขายบ้าง เพราะกางเกงคนขุดเหมืองขาดง่าย คำพูดนี้จุดประกายความคิดให้สเตราท์ เขาจึงนำเอาผ้าเต็นท์มาให้ช่าง ตัดเป็นเสื้อและกางเกง แล้วนำออกขาย ปรากฏว่าขายดีอย่างนึกไม่ถึงจนผ้าเต็นท์หมดไปในไม่ช้า สเตราท์จึงสั่งผ้าใบเรือมาตัดเสื้อผ้า ในขณะที่ผ้าเต็นท์ขาดตลาด เขาสั่งผ้าหนา อีกหลายชนิดมาจากนิวยอร์ก และนำมาย้อมสีเป็นสีน้ำเงินคราม อันเป็นสัญลักษณ์ ของเสื้อผ้ากรรมกร"จาคอบ เดวิส" ผู้ตั้งชื่อ "ลีวาย"ปี ค.ศ. 1860 ช่างตัดเสื้อชื่อนายจาคอบ เดวิส( Jacob Davis ) จากรัฐเนวาดา ได้ตอกหมุดตามมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมือง เพื่อให้บริเวณนั้นที่มักขาดเสมอ แข็งแรงขึ้น สเตราท์นำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับกางเกงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาของเขา และตั้งชื่อว่า "ลีวาย" ( Levi´s ) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 สเตราท์ได้ จดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้น ถือเป็นวันกำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายที่นิยมใช้ทั่วโลกขณะนี้ ล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน ในทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปียังจัดเป็นวัน ´LEVI´S 501 DAY´ พร้อมกันทั่วทวีปเอเชีย เพื่อรำลึกถึงงานประดิษฐ์ครั้งสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของวงการแฟชั่นยีนส์ ...และเมื่อไม่นานมานี้ ลีวายส์ได้เปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด ´LIMITED EDITION 2006´ ซึ่งยีนส์รุ่นนี้สั่งทำแบบพิเศษ สำหรับคุณผู้ชายโดยเฉพาะ โดยเพิ่มลูกเล่นเข้าไป โดยการฟอกสีให้ดูเก่า ตกแต่งด้วยรอยสนิม รอยเปื้อน และลอยขาดที่จงใจทำขึ้นมาอย่างประณีต การเย็บปะอย่างไร้รูปแบบ ด้วยชิ้นผ้ารูปทรงแปลกตา และเนื้อผ้าที่สร้างสรรค์ ขึ้นมาใหม่ ผลงานทุกชิ้น เปรียบเสมือนการบอกเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของแฟนลีวายส์ 501 อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นที่มาของแคมเปญในปีนี้

credit :http://forum.mthai.com/view_topic.php?table_id=1&cate_id=34&post_id=49429